วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

งาน 10 บท คำทั้ง7ชนิด





บทที่ ๕ คำบุพบท



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนมิกกี้เม้า

คำบุพบท  หมายถึง คำที่ใช้นำหน้าคำนาม  คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมคำหรือกลุ่มคำนั้นให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน 



ชนิดของคำบุพบทมี ๖ ชนิด  ดังนี้



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


๑. คำบุพบทบอกสถานที่  ได้แก่คำว่า  
ใต้  บน  ริม ชิด ใกล้ ไกล ที่ นอก ใน เช่น
เสื้อสีขาวอยู่ในตู้เสื้อผ้า
เขาขายส้มตำอยู่ใกล้สถานีตำรวจ



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



๒. คำบุพบทบอกเวลา  ได้แก่คำว่า
  แต่  ตั้งแต่  ณ  เมื่อ จน  จนกระทั่ง เช่น
เขาอ่านหนังสือจนดึก
คุณพ่อไปทำงานแต่เช้า



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




๓.  คำบุพบทบอกความเป็นเจ้าของ  ได้แก่คำว่า  แห่ง  ของ  เช่น
เขาทำงานอยู่วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
เงินของฉันหาย




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนมิกกี้เม้า


๔.  คำบุพบทบอกที่มาหรือสาเหตุ  ได้แก่คำว่า  
แต่  จาก  กว่า  เหตุ  ตั้งแต่  เช่น
คุณแม่ซื้อผักมาจากตลาด
ชาวนาเดินมาตั้งแต่ที่นาถึงบ้าน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนมิกกี้เม้า




๕.  คำบุพบทบอกฐานะเป็นผู้รับ  ได้แก่คำว่า  เพื่อ  ต่อ  แก่  แด่  เฉพาะ  สำหรับ เช่น
ฉันทำทุกอย่างเพื่อแม่
เขาถวายปัจจัยแด่พระสงฆ์



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




๖. คำบุพบทบอกฐานะเครื่องใช้ หรือติดต่อกัน ได้แก่คำว่า  โดย  ด้วย  อัน  ตาม  กับ  เช่น
เขาเดินทางโดยสวัสดิภาพ
เขาทำตามคำสั่ง



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนมิกกี้เม้า



หน้าที่ของคำบุพบท
๑. นำหน้าคำนาม
         ๒. นำหน้าคำสรรพนาม 
   ๓.  นำหน้าคำกริยา 
     ๔.  นำหน้าคำวิเศษณ์
  ๕.  นำหน้าประโยค








บทที่ ๖ คำสันธาน



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนคิตตี้

คำสันธาน  หมายถึง  คำที่ใช้เชื่อมประโยค หรือข้อความกับข้อความ  
เพื่อทำให้ประโยคนั้นรัดกุม  กระชับและสละสลวย  
เช่นคำว่า และ  แล้ว  จึง  แต่  หรือ  เพราะ  เหตุเพราะ  เป็นต้น
คำสันธานแบ่งเป็น  ๔  ชนิด ดังนี้



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนคิตตี้

๑. คำสันธานที่เชื่อมความคล้อยตามกัน  
ได้แก่คำว่า  และ  ทั้ง...และ  ทั้ง...ก็ ครั้น...ก็  
ครั้น...จึง  ก็ดี  เมื่อ...ก็ว่า  พอ...แล้ว เช่น

            -  ทั้งพ่อและแม่ของผมเป็นคนใต้

               -  พอทำการบ้านเสร็จแล้วฉันก็นอน





ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนคิตตี้




๒. คำสันธานที่เชื่อมความขัดแย้งกัน  
เช่นคำว่า  แต่  แต่ว่า  กว่า...ก็  ถึง...ก็ เป็นต้น  เช่น

               -  ผมต้องการพูดกับเขา แต่เขาไม่ยอมพูดกับผม

           -   กว่าเราจะเรียนจบเพื่อนๆ ก็ทำงานหมดแล้ว




รูปภาพที่เกี่ยวข้อง





๓. คำสันธานที่เชื่อมข้อมความให้เลือก  ได้แก่คำว่า  
หรือ  หรือไม่  ไม่...ก็ หรือไม่ก็  ไม่เช่นนั้น  มิฉะนั้น...ก็  เป็นต้น  เช่น

               -  นักเรียนชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์หรือภาษาไทย


-  เธอคงไปซื้อของหรือไม่ก็ไปดูหนัง




รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

๔ คำสันธานที่เชื่อมความที่เป็นเหตุเป็นผล  
ได้แก่คำว่า  เพราะ  เพราะว่า ฉะนั้น...จึง  ดังนั้น  
หตุเพราะ  เหตุว่า  เพราะฉะนั้น...จึง  เป็นต้น เช่น

        -  นักเรียนมาโรงเรียนสายเพราะฝนตกหนัก

             -  เพราะวาสนาไม่ออกกำลังกายเธอจึงอ้วนมาก







รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




หน้าที่ของคำสันธาน  มีดังนี้คือ

๑.  เชื่อมประโยคกับประโยค
๒.  เชื่อมคำกับคำหรือกลุ่มคำ
๓.  เชื่อมข้อความกับข้อความ










บทที่ ๗ คำอุทาน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนโดเรม่อน

 คำอุทาน  หมายถึง  คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ  
ดีใจ  เสียใจ  ประหลาดใจหรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด  
เช่นคำว่า  อุ๊ย  เอ๊ะ  ว้าย  โธ่  อนิจจา  อ๋อ  เป็นต้น  
















คำอุทานแบ่งเป็น  ๒  ชนิด ดังนี้




รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



๑.  คำอุทานบอกอาการ  เป็นคำอุทานที่แสดงอารมณ์  และความรู้สึกของผู้พูด  เช่น
            ตกใจ               ใช้คำว่า       วุ้ย  ว้าย  แหม  ตายจริง
            ประหลาดใจ      ใช้คำว่า        เอ๊ะ  หือ  หา
            รับรู้ เข้าใจ        ใช้คำว่า        เออ  อ้อ  อ๋อ
            เจ็บปวด            ใช้คำว่า         โอ๊ย  โอย  อุ๊ย
            สงสาร เห็นใจ     ใช้คำว่า        โธ๋  โถ  พุทโธ่   อนิจจา
            ร้องเรียก            ใช้คำว่า         เฮ้ย   เฮ้   นี่
            โล่งใจ              ใช้คำว่า         เฮอ  เฮ้อ
            โกรธเคือง        ใช้คำว่า         ชิชะ   แหม
           





รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




๒.  คำอุทานเสริมบท เป็นคำอุทานที่ใช้เป็นคำสร้อยหรือคำเสริมบทต่างๆ คำอุทานประเภทนี้บางคำเสริมคำที่ไม่มีความหมายเพื่อยืดเสียงให้ยาวออกไป บางคำก็เพื่อเน้นคำให้กระชับหนักแน่น  เช่น
               -  เดี๋ยวนี้มือไม้ฉันมันสั่นไปหมด
               -  หนังสือหนังหาเดี๋ยวนี้ราคาแพงมาก
               -  พ่อแม่ไม่ใช่หัวหลักหัวตอนะ








บทที่ ๘ วรรณคดี
เรื่องขุนช้างขุนแผน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนขุนช้างขุนแผน



เรื่องขุนช้างขุนแผน มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่๒ และเล่ากันต่อ ๆมาจนกลายเป็นนิยายพื้นเมืองของเมืองสุพรรณบุรี ต่อมาได้มีผู้นำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนเสภเพื่อใช้ในการขับเสภา จึงทำให้เรื่องนี้เป็นที่นิยมและแพร่หลายมากขึ้น ครั้นเสียกรุงแล้วบางตอนก็สูญหายไป บางตอนยังมีต้นฉบับเหลืออยู่ เรื่องไม่ติดต่อกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้กวีหลายคนช่วยกันรวบรวมและแต่งขึ้นเรียกว่า เสภาหลวง



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนขุนช้างขุนแผน


 การชุมนุมกวีครั้งนั้นจึงเป็นการประกวดฝีปากเชิงกลอนอย่างเต็มที่ ทำให้เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน มีความไพเราะเพราะพริ้งมากอย่างไรก็ตามได้มีนักขับเสภาระยะหลังได้แต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ขึ้นอีกหลายสำนวนเพื่อใช้ขับเสภาเป็นตอน ๆ ใน พ.ศ. ๒๔๖๐ หอพระสมุดวชิรญาณได้ชำระหนังสือเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนขึ้นเพราะมีเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนหลายฉบับ ทั้งฉบับหลวงและฉบับราษฎรโดยมีสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพและกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา ทรงเป็นประธานการชำระได้คัดเลือกเอาสำนวนที่ดีที่สุดมารวมกันจนครบทุกตอน บางตอนก็ไม่สามารถทราบนาม




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนขุนช้างขุนแผน



หนังสือเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้กวีในรัชสมัยของพระองค์ ตลอดจนพระองค์เองร่วมกันแต่งและทรงพระราชนิพนธ์ขี้นเป็นวรรณคดีที่มีค่าทั้งในด้านความไพเราะและในลีลาการแต่ง ตลอดจนเค้าโครงเรื่อง ได้รับการยกย่องตามพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสรในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าเป็นยอดของหนังสือประเภทกลอนเสภา และได้รับประทับราชลัญจกรรูปพระคเณศร์ไว้เป็นเครื่องหมายของการยกย่องนั้นด้วย หนังสือเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ ไม่เพียงแต่เป็นวรรณคดีสำหรับอ่านกันเล่น เพื่อได้รับรสวรรณคดีเป็นเครื่องบันเทิงใจเท่านั้น หากแต่บางตอนในวรรณคดีเรื่องนี้ยังเป็นหลักฐานที่ให้ความรู้ในเรื่องราวความเป็นอยู่ของผู้คนและบ้านเมืองในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สมกับที่มีคำกล่าวว่า วรรณคดีเป็นกระจกเงาสะท้อนภาพความเป็นไปของบ้านเมืองในยุคนั้นๆ ให้คนรุ่นหลังๆ ได้ทราบด้วย




เรื่องย่อ





ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนขุนช้างขุนแผน


กล่าวถึงครอบครัวสามครอบครัว คือ ครอบครัวของขุนไกรพลพ่ายรับราชการทหาร มีภรรยาชื่อ นางทองประศรี มีลูกชายด้วยกันชื่อ พลายแก้ว ครอบครัวของขุนศรีวิชัย เศรษฐีใหญ่ของเมืองสุพรรณบุรี รับราชการเป็นนายกองกรมช้างนอก ภรรยาชื่อ นางเทพทอง มีลูกชายชื่อ ขุนช้าง ซึ่งหัวล้านมาแต่กำเนิด และครอบครัวของพันศรโยธา เป็นพ่อค้า ภรรยาชื่อ ศรีประจัน มีลูกสาวรูปร่างหน้าตางดงามชื่อนางพิมพิลาไลยวันหนึ่งสมเด็จพระพันวษา มีความประสงค์จะล่าควายป่า จึงสั่งให้ขุนไกรปลูกพลับพลาและต้อนควายเตรียมไว้แต่ควายป่าเหล่านั้นแตกตื่นไม่ยอมเข้าคอก ขุนไกรจึงใช้หอกแทงควายตายไปมากมายที่รอดชีวิตก็หนีเข้าป่าไป สมเด็จพระพันวษาโกรธมากสั่งให้ประหารชีวิตขุนไกรเสีย นางทองประศรีรู้ข่าวรีบพาพลายแก้วหนีไปอยู่ที่เมืองกาญจนบุรีทางเมืองสุพรรณบุรี มีพวกโจรจันศรขึ้นปล้นบ้านของขุนศรีวิชัยและฆ่าขุนศรีวิชัยตายส่วนพันศรโยธาเดินทางไปค้าขายต่างเมือง พอกลับมาถึงบ้านก็เป็นไข้ป่าตายเมื่อพลายแก้วอายุได้ ๑๕ ปี ก็บวชเณรเรียนวิชาอยู่ที่วัดส้มใหญ่ แล้วย้ายไปเรียนต่อที่วัดป่าเลไลย ต่อมาที่วัดป่าเลไลยจัดให้มีเทศน์มหาชาติ เณรพลายแก้วเทศน์กัณฑ์มัทรี ซึ่งนางพิมพิลาไลยเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ นางพิมเลื่อมใสมากจนเปลื้องผ้าสไบบูชากัณฑ์เทศ์ ขุนช้างเห็นเช่นนั้นก็เปลื้องผ้าห่มของตนวางเคียงกับผ้าสไบของนางพิม อธิฐานขอให้ได้นางเป็นภรรยา ทำให้นางพิมโกรธ ต่อมาเณรพลายแก้วก็สึกแล้วให้นางทองประศรีมาสู่ขอนางพิมและแต่งงานกัน  ทางกรุงศรีอยุธยาได้ข่าวว่ากองทัพเชียงใหม่ตีได้เมืองเชียงทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพันวษาถามหาเชื้อสายของขุนไกร ขุนช้างซึ่งเข้าไปรับราชการอยู่จึงเล่าเรื่องราวความเก่งกล้าสามาราถของพลายแก้ว เพื่อหวังจะพรากพลายแก้วไปให้ห่างไกลนางพิม สมเด็จพระพันวษาจึงให้ไปตามตัวมาแล้วแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพไปรบกับเมืองเชียงใหม่และได้ชัยชนะ นายบ้านแสนคำแมนแห่งหมู่บ้านจอมทอง เห็นว่าพลายแก้วกับพวกทหารไม่ได้เบียดเบียนให้ชาวบ้านเดือดร้อนจึงยกนางลาวทองลูกสาวของตนให้เป็นภรรยาของพลายแก้วส่วนนางพิมพิลาไลย เมื่อสามีจากไปทัพได้ไม่นานก็ป่วยหนักรักษาเท่าไรก็ไม่หาย ขรัวตาจูวัดป่าเลไลยแนะนำให้เปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง อาการไข้จึงหาย ขุนช้างทำอุบายนำหม้อใหม่ใส่กระดูกไปให้นางศรีประจันกับนางวันทองดูว่าพลายแก้วตายแล้วและขู่ว่านางวันทองจะต้องถูกคุมตัวไว้เป็นม่ายหลวงตามกฎหมาย นางวันทองไม่เชื่อ แต่นางศรีประจันคิดว่าจริง ประกอบกับเห็นว่าขุนช้างเป็นเศรษฐีจึงบังคับให้นางวันทองแต่งงานกับขุนช้าง นางวันทองจำต้องตามใจแม่แต่นางไม่ยอมเข้าหอ ขณะนั้นพลายแก้วกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาและได้บรรดาศักดิ์เป็นแผนแสนสะท้าน จากนั้นก็พานางลาวทองกลับสุพรรณบุรีนางวันทองเห็นขุนแผนพาภรรยาใหม่มาด้วยก็โกรธด่าทอโต้ตอบกับนางลาวทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวขุนแผน ทำให้ขุนแผนโมโหพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี ส่วนนางวันทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวขุนแผน ทำให้ขุนแผนโมโหพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี ส่วนนางวันทองก็ตกเป็นภรรยาของขุนช้างอย่างจำใจต่อมาขุนช้างและขุนแผนเข้าไปรับราชการอบรมในวังและได้มหาดเล็กเวรทั้งสองคน วันหนึ่งนางทองประศรีให้คนมาส่งข่าวว่า นางลาวทองป่วยหนัก ขุนแผนจึงฝากเวรไว้กับขุนช้างแล้วไปดูอาการของนางลาวทอง ตอนเช้าสมเด็จพระพันวษาถามถึงขุนแผน ขุนช้างบอกว่าขุนแผนปีนกำแพงวังหนีไปหาดภรรยา สมเด็จพระพันวษาโกรธจึงสั่งให้นำตัวนางลาวทองมากักไว้ในวัง ส่วนขุนแผนให้ไปตระเวนด่านห้ามเข้าวังอีกทำให้ขุนแผนแค้นขุนช้างมากคิดช่วงชิงนางวันทองกลับคืนมา จึงออกหาของวิเศษ ๓ อย่าง คือ ดาบวิเศษ กุมารทอง และม้าฝีเท้าดี ขุนแผนเดินทางไปถึงซ่องโจรของหมื่นหาญก็สมัครเข้าเป็นสมุน วันหนึ่งได้ช่วยชีวิตหมื่นหาญให้รอดพ้นจากการถูกวัวแดงขวิดตาย หมื่นหาญจึงยกนางบัวคลี่ลูกสาวของตนให้เป็นภรรยาของขุนแผนต่อมาหมื่นหาญเห็นขุนแผนมีวิชาอาคมเหนือกว่าตนก็คิดกำจัด โดยสั่งให้นางบัวคลี่วางยาพิษฆ่าขุนแผน แต่โหงพรายมาบอกให้ขุนแผนรู้ตัว คืนนั้นพอนางบัวคลี่นอนหลับ ขุนแผนก็ผ่าท้องนางควักเอาเด็กไปทำพิธีปลุกเสกเป็นกุมารทอง ต่อจากนั้นก็ทำพิธีตีดาบฟ้าฟื้นและไปซื้อม้าลักษณะดีได้ตัวหนึ่ง ชื่อ ม้าสีหมอก แล้วขุนแผนก็ไปที่บ้านของขุนช้างสะกดคนให้หลับหมดแล้วขึ้นไปบนบ้านแต่เข้าห้องผิด จึงพบนางแก้วกิริยาและได้นางเป็นภรรยา จากนั้นก็ไปปลุกนางวันทองพาขึ้นม้าหนีเข้าป่าไป ขุนช้างไปฟ้องสมเด็จพระพันวษา พระองค์ให้ทหารตามจับขุนแผน แต่ถูกขุนแผนฆ่าตายไปหลายคน ขุนแผนกับนางวันทองหลบซ่อนอยู่ในป่าจนนางตั้งท้องจึงพากันออกมามอบตัวสู้คดีกับขุนช้างจนชนะคดี ขุนแผนนางวันทอง และนางแก้วกิริยาจึงอยู่ร่วมกันด้วยความสุข แต่ขุนแผนนึกถึงนางลาวทองจึงขอร้องจมื่นศรีเสาวรักษ์ให้ขอตัวนางจากสมเด็จพระพันวษาทำให้พระองค์โกรธว่าขุนแผนกำเริบจึงสั่งจำคุกขุนแผนไว้ นางแก้วกิริยาตามไปปรนนิบัติขุนแผนด้วย ส่วนนางวันทองพักอยู่ที่บ้านของหมื่นศรี ขุนช้างจึงพาพรรคพวกมาฉุดนางวันทองไปเป็นภรรยาอีก ต่อมานางก็คลอดลูกชาย แล้วตั้งชื่อให้ว่าพลายงาม ขุนช้างรู้ว่าไม่ใช่ลูกของตนก็เกลียดชัง วันหนึ่งจึงหลอกพาเข้าไปในป่าทุบตีจนสลบแล้วเอาท่อนไม้ทับไว้ โหงพรายของขุนแผนมาช่วยได้ทัน นางวันทองจึงให้ลูกไปอยู่กับนางทองประศรีที่กาญจนบุรีพลายงามได้ร่ำเรียนวิชาของพ่อเชี่ยวชาญ ขุนแผนจึงพาไปฝากไว้กับหมื่นศรี เพื่อหาโอกาสให้เข้ารับราชการทางฝ่ายพระเจ้าเชียงอินทร์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้ทหารไปชิงตัวนางสร้อยทองธิดาพระเจ้าล้านช้างระหว่างที่เดินทางไปยังกรุงศรีอยุธยา เพราะพระเจ้าล้านช้างต้องการเป็นไมตรีด้วยจึงส่งธิดามาถวายตัวแล้วพระเจ้าเชียงอินทร์ยังส่งหนังสือท้าทายสมเด็จพระพันวษาอีกด้วย พลายงามได้โอกาสจึงอาสาออกไปรบ และขอให้ปล่อยขุนแผนออกจากคุกด้วย เพื่อจะได้ช่วยกันทำศึก ขุนแผนจึงพ้นโทษ ในขณะที่กำลังเตรียมทัพนางแก้วกิริยาก็คลอดลูกเป็นชาย ขุนแผนตั้งชื่อว่า พลายชุมพล แล้วขุนแผนกับพลายงามก็คุมทัพมุ่งสู่เชียงใหม่ ขุนแผนได้แวะเยี่ยมพระพิจิตรกับนางบุษบาซึ่งเคยให้ความช่วยเหลือ เมื่อครั้งขุนแผนกับนางวันทองเข้ามอบตัว พลายงามจึงได้พบนางศรีมาลาและได้นางเป็นภรรยา จากนั้นก็คุมทัพไปรบกับเชียงใหม่ได้ชัยชนะ ครั้นกลับถึงกรุงศรีอยุธยา ขุนแผนได้เป็นพระสุรินฤาไชย เจ้าเมืองกาญจนบุรี พลายงามได้เป็นจมื่นไวยวรนาถ และสมเด็จพระพันวษาก็ยกนางสร้อยฟ้าธิดาของพระเจ้าเชียงอินทร์ให้แต่งงานกับพระไวยพร้อม ๆ กับนางศรีมาลาพระไวยอยากให้แม่มาอยู่กับตนและคืนดีกับพ่อ จึงไปลักพานางวันทองมาขุนช้างเคืองมากไปฟ้องสมเด็จพระพันวษา จึงมีการไต่สวนคดีกันอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดสมเด็จพระพันวษาก็ถามความสมัครใจของนางว่าจะเลือกอยู่กับใคร นางตัดสินใจไม่ได้ สมเด็จพระพันวษาหาว่านางเป็นหญิงสองใจจึงสั่งให้นำตัวไปประหารชีวิต พระไวยพยายามอ้อนวอนขออภัยโทษได้ แต่ไปห้ามการประหารไม่ทันในครอบครัวของพระไวยก็ไม่ราบรื่นนัก เพราะนางสร้อยฟ้าไม่พอใจที่พระไวยและนางทองประศรีรักนางศรีมาลามากกว่านาง จึงมักจะมีการทะเลาะวิวาทกันอยู่เสมอ นางสร้อยฟ้าเจ็บใจจึงให้เถรขวาดทำเสน่ห์ให้พระไวยหลงรักนาง แล้วนางสร้อยฟ้าก็หาเรื่องใส่ความให้พระไวยตีนางมาลา พลายชุมพลเข้าไปห้ามก็ถูกตีไปด้วย พลายชุมพลน้อยใจจึงหนีออกจากบ้านไปหาพ่อแม่ที่กาญจนบุรีเล่าเรื่องให้ฟัง แล้วหนีต่อไปหายายที่สุโขทัย ได้บวชเณรและเล่าเรียนอยู่ที่นั้นฝ่ายขุนแผนรีบไปที่บ้านของพระไวย แล้วเสกกระจกมนต์ให้ดูว่าถูกทำเสน่ห์ แต่พระไวยไม่เชื่อหาว่าพ่อเล่นกลให้ดู และพูดลำเลิกบุญคุณที่ช่วยพ่อออกมาจากคุกขุนแผนแค้นมากประกาศตัดพ่อตัดลูก แล้วกลับกาญจนบุรีทันทีพลายชุมพลเรียนวิชาสำเร็จแล้วก็นัดหมายกับขุนแผนจแก้แค้นพระไวย โดยพลายชุมพลสึกจากเณรปลอมเป็นมอญ ใช้ชื่อ สมิงมัตรา ยกกองทัพหุ่นหญ้าเสกมาถึงสุพรรณบุรี สมเด็จพระพันวษา ให้ขุนแผนยกทัพไปต้านศึก ขุนแผนแกล้งแพ้ให้ถูกจับได้พระไวยจึงต้องยกทัพไปและต่อสู้กับพลายชุมพล ระหว่างที่กำลังต่อสู้กัน ขุนแผนบอกให้พลายชุมพลจับตัวพระไวยไว้ พระไวยเห็นพ่อก็ตกใจหนีกับไปฟ้องสมเด็จพระพันวษาพระองศ์จึงให้นางศรีมาลาไปรับตัวขุนแผนกับพลายชุมพลเข้าวัง พลายชุมพลอาสาจับเสน่ห์ โดยขอหมื่นศรีไปเป็นพยานด้วย พลายชุมพลจับตัวเถรขวาดกับเณรจิ๋วไว้ แล้วขุดรูปปั้นลงอาคมที่ฝั่งไส้ใต้ดินขึ้นมาได้เสน่ห์จึงคลาย ตกดึกเถรขวาดกับเณรจิ๋วสะเดาะโซ่ตรวนหนีไป ในการไต่สวนคดีนางสร้อยฟ้า ไม่ยอมรับว่าเป็นคนทำเสน่ห์ และใส่ร้ายว่านางศรีมาลาเป็นชู้กับพลายชุมพล พอนางจับได้พลายชุมพลก็หนีไปยุยงขุนแผน ในที่สุดก็มีการพิสูจน์ความบริสุทธิ์โดยการลุยไฟนางสร้อยฟ้าแพ้ถูกไฟลวกจนพุพอง ส่วนนางศรีมาลาไม่เป็นอะไรเลย สมเด็จพระพันวษาสั่งประหารนางสร้อยฟ้า แต่นางศรีมาลาช่วยขออภัยโทษให้ จึงเพียงถูกเนรเทศกลับไปอยู่ที่เชียงใหม่เช่นเดิม ระหว่างเดินทางก็พบเถรขวาดกับเณรจิ๋ว จึงเดินทางไปด้วยกัน กลับถึงเชียงใหม่ได้ไม่นานกนางก็ให้กำเนิดลูกชาย ชื่อ พลายยง ส่วนนางศรีมาลาก็คลอดลูกชายเช่นกัน ขุนแผนตั้งชื่อให้ว่า พลายเพชร
พระเจ้าเชียงอินทร์ ตั้งเถรขวาด เป็นพระสังฆราชเพื่อตอบแทนความดีความชอบที่พานางสร้อยฟ้าที่กลับบ้านเมืองได้อย่างปลอดภัย แต่เถรขวาดยังแค้นพลายชุมพล จึงเดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยา แปลงเป็นจระเข้อาละวาดฆ่าคนและสัตว์เลี้ยงไปมากมาย พลายชุมพลจึงอาสาออกปราบจระเข้จนสำเร็จ ไดตัวเถรขวาดมาประหารชีวิต พลายชุมพลได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงนายฤทธิ์ นับจากนั้นเป็นตนมาทุกคนก็อยู่กันอย่างมีความสุข





  







บทที่ ๙ เรื่องหลวิชัยคาวี

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


มีเสือแม่ลูกอ่อนออกไปหากินในป่าเพลินจนลืมลูกเสือที่อยู่ในถ้ำ ลูกเสือหิวมากออกเดินตามหาแม่แต่ก็ไม่พบ ลูกเสือเจอแม่วัวจึกขอนมแม่วัวกิน แม่วัวสงสารให้กินนมแล้วพาไปที่อยู่ เลี้ยงลูกเสือคู่กับลูกวัวของตน ลูกเสือกับลูกวัวก็รักกันเหมือนพี่น้องวันหนึ่งแม่เสือกลับมาตามหาลูก พบลูกเสืออยู่กับแม่วัว ลูกเสือชวนแม่อยู่ด้วยกันกับแม่วัว แม่เสือแสร้งทำเป็นใจดีอยู่กับแม่วัว แต่เวลาออกไปหากินจะไปกันคนละทิศวันหนึ่งแม่เสือแอบไปดักกินแม่วัว ลูกวัวไม่เห็นแม่กลับมาก็ออกตามหา ลูกเสือก็
ตามลูกวัามา แม่เสือเห็นลูกวัวก็ตรงเข้ากัดกิน ลูกเสือโกรธมากที่แม่จะกินลูกวัว จึงโดด
เข้าไปกัดแม่เสือจนแม่เสือตายลูกเสือกับลูกวัวจึงออกเดินทางท่องเที่ยวไปในป่า วันหนึ่งไปถึงอาศรมฤษี ฤษีแปลกใจมากที่สัตว์ทั้งสองเป็นเพื่อนรักกัน จึงมีจิตเมตตาชุบชีวิตลูกเสือลูกวัวให้เป็นคน และตั้งชื่อลูกเสือว่าหลวิชัย ลูกวัวชื่อคาวี หลวิชัยกับคาวีก็เรียนศิลปวิทยากับฤษีจนเติบโต เมื่อมีอายุพอสมควรแล้ว หลวิชัยกับคาวีก็ขอลาพระฤษีไปเผชิญโชค ฤษีให้พระขรรค์วิเศษที่บรรจุหัวใจของหลวิชัยกับคาวี หลวิชัย คาวี เดินทางไปได้พักหนึ่งถึงทางแยก หลวิชัยจึงบอกกับคาวีว่า " เราแยกทางกันตรงนี้ เจ้าไปทิศเหนือ พี่ไปทิศใต้ แล้วอีกสามเดือนเรามาพบกันที่นี่ " คาวีเดินทางไปถึงเมืองร้างแห่งหนึ่ง ร้านรวงต่าง ๆ ยังมีข้าวของแต่ไม่มีผู้คน คาวีเข้าไปในพระราชวังก็ไม่เห็นคนสักคนเดียว จึงเข้าไปในครัวแล้วก่อไฟขึ้นเพื่อจะหุงหาอาหาร ทันใดนั้นมีกลุ่มนกอินทรียักษ์บินมาจนท้องฟ้ามืดมิด กลุ่มนกอินทรีบินจะมาจิกกินคาวี คาวีใช้พระขรรค์ต่อสู้และฆ่านกอินทรียักษ์ตายเกือบหมด นกที่เหลือก็บินหนีไป
คาวีจึงเดินสำรวจพระราชวัง เห็นกลองใบใหญ่ พอเดินเข้าไปใกล้ได้ยินเสียงหญิงสาว
ร้องว่า " ช่วยเราด้วย ช่วยเราด้วย " คาวีใช้พระขรรค์กรีดหนังกลองก็พบพระราชธิดาชื่อ
พระนางจันทร์สุดา คาวีจึงอภิเษกกับนางจันทร์สุดา ผู้คนที่หลบหนีไปเพราะกลัวนกก็อพยพ
กลับมาอยู่ที่เมือง บ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองเหมือนเดิม วันหนึ่งพระนางจันทร์สุดาไปสรงน้ำ ผมของนางซึ่งมีกลิ่นหอมร่วง พระนางจึงใส่ผอบ ลอยน้ำไป ต่อมามีคนนำผอบผมหอมไปถวายท้าวสัณนุราช ท้าวสัณนุราชก็อยากทราบว่าผมนี้เป็นของผู้ใด จึงมีประกาศป่าวร้องว่าถ้าใครรู้จักจะให้รางวัล ยายเฒ่าทัดประสาด ซึ่งเคยเป็นพี่เลี้ยงของนางจันทร์สุดาก็รีบไปเข้าเฝ้าท้าวสัณนุราช แล้วบอกว่าเป็นเส้นผมของพระนางจันทร์สุดา ท้าวสัณนุราชจึงบอกให้ยายเฒ่าทัดประสาดหาทางนำนางมา แล้วก็ให้เงินทอง







ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรื่องหลวิชัยคาวี






รูปภาพที่เกี่ยวข้อง





บทที่ ๑๐ เรื่องไกรทอง






ไกรทอง เป็นนิทานพื้นบ้านภาคกลางของไทย ที่มีตัวเอกชื่อไกรทอง เล่าไว้หลายสำนวนด้วยกัน ภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 2ได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครสำหรับละครนอก และได้รับความนิยม ยกย่องเป็นฉบับมาตรฐานฉบับหนึ่ง

เนื้อเรื่อง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไกรทอง


ชาละวันเป็นจระเข้เจ้า อาศัยอยู่ในถ้ำทองใต้บาดาล ในถ้ำทองจระเข้จะกลายร่าง เป็นคนได้ ชาละวันตอนกลายร่างเป็นคนจะเป็น หนุ่มรูปงาม โดยชาละวันเองมีเมียสาว สวยเป็นนางจระเข้ 2 ตัวคือ วิมาลา และเลื่อมลายวรรณ ชาละวันเป็นหลานชายของ ท้าวรำไพ ผู้เป็นจระเข้เจ้าที่อยู่ในศีลธรรม ไม่เคยจับสัตว์หรือมนุษย์กินเป็นอาหารและ จะกินแต่ซากสัตว์ที่ตายแล้วเป็นอาหารเท่านั้น ชาละวัน แม้อยู่ในถ้ำทองจะอิ่มทิพย์ไม่ต้อง กินเนื้อ แต่ ด้วย ความมีนิสัยที่เป็น อันธพาล จึงชอบมาเมืองบน ตามแม่น้ำลำคลอง จับคนที่เป็นชาวบ้านและสัตว์กินเพื่อความสนุกสนาน
ณ หมู่บ้านดงเศรษฐี แขวงเมืองพิจิตร มีพี่น้องฝาแฝดคู่หนึ่ง มีความงามเป็นที่ เลื่องลือ ชื่อนางตะเภาแก้ว ผู้พี่ และนางตะเภาทอง ผู้น้อง ทั้งสองเป็นบุตรเศรษฐีคำ และ คุณนายทองมา วันหนึ่งนางตะเภาแก้วและนางตะเภาทองได้ลงไปเล่นน้ำที่ท่าหน้าบ้าน ช่วงเวลานั้นเจ้าชาละวัน ซึ่งเป็นจระเข้ได้ออกมาว่ายน้ำหาเหยื่อ เมื่อได้เห็นนางตะเภาทอง ก็ลุ่มหลงในความงาม จึงโผล่ขึ้นเหนือน้ำเข้าไปคาบนางตะเภาทองแล้วดำดิ่งไปยังถ้ำทอง อันเป็นที่อยู่ของเจ้าชาละวัน เมียของชาวละวันคือ วิมาลา และเลื่อมลายวรรณ เห็นก็ไม่ พอใจแต่ก็ห้ามสามีไม่ได้เพราะเกรงกลัวจึงต้องยอมให้ผัวมีเมียเป็นมนุษย์อีกคน เมื่อนางตะเภาทองฟื้นขึ้นมาเจ้าชาละวันก็เกี้ยวพาราสี แต่นางตะเภาทองก็ไม่สนใจ เจ้าชาละวันจึงจำต้องใช้เวทมนตร์สะกดให้นางตะเภาทองหลงรัก และยอมเป็นภรรยาตั้งแต่นั้นมา
เศรษฐีคำ และคุณนายทองมาโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก ที่นางตะเภาทอง บุตรสาวคนเล็กถูกเจ้าชาละวันคาบไป และคิดว่าบุตรสาวตนคงตายไปแล้ว ด้วยความรัก ในบุตรสาว และความแค้นในเจ้าชาละวัน จึงประกาศออกไปว่าใครที่พบศพนางตะเภาทอง และสามารถปราบจระเข้ตัวนี้ได้จะมอบสมบัติของตนเองให้ครึ่งหนึ่ง และจะให้แต่งงาน กับนางตะเภาแก้วด้วย แต่ก็ไม่มีหมอจระเข้คนไหนสามารถปราบเจ้าชาละวันได้ นอกจาก กลายเป็นเหยื่อของเจ้าชาละวันคนแล้วคนเล่า จนในที่สุดก็มีชายหนุ่มรูปงาม นามว่าไกรทอง ซึ่งได้ร่ำเรียนวิชาการปราบจระเข้จากอาจารย์คง จนมีความเก่งกล้า ได้อาสามาปราบเจ้า ชาละวัน แต่อาจารย์คงรู้ว่าเจ้าชาละวันเป็นพญาจระเข้มีอำนาจมาก และหนังเหนี่ยว ฆ่าฟันไม่ตาย เนื่องจากมีเขี้ยวเพชรทำให้อยู่ยงคงกระพัน จึงได้มอบหอกสัตตโลหะ เทียนระเบิดน้ำ เสื้อยันต์และลูกประคำปลุกเสกแก่ไกรทอง
รุ่งเช้าตั้งพิธีบวงสรวงพร้อมอ่านคาถา ทำให้เจ้าชาละวันเกิดร้อนลุ่มต้องออกจาก ถ้ำขึ้นมาต่อสู้กับไกรทอง ไกรทองกระโดดขึ้นบนหลังจระเข้ และแทงด้วยหอกสัตตโลหะ ทำให้อาคมของเขี้ยวเพชรเสื่อม หอกได้ทิ่มแทงเจ้าชาละวันจนบาดเจ็บสาหัส และได้หนี กลับไปที่ถ้ำ แต่ไกรทองก็ใช้ เทียนระเบิดน้ำ ตามไปต่อสู้อีกในถ้ำ
ระหว่างที่เข้าไปในถ้ำไกรทองก็พบกับ วิมาลา เมียของชาละวัน ด้วยความเจ้าชู้ จึงเกี้ยวพาราสี นางวิมาลา จนนางใจอ่อนยอมเป็นชู้ และบอกทางไปช่วย นางตะเภาทอง
ไกรทองตามมาต่อสู้กับเจ้าชาละวัน ในถ้าต่อจนเจ้าชาละวันตาย และไกรทองก็ได้ พานางตะเภาทองกลับขึ้นมา เศรษฐีดีใจมากจึงจัดงานแต่งงานให้ไกรทองกับนางตะเภา แก้ว พร้อมมอบสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง แถมนางตะเภาทองให้อีกคน ไกรทองจอมเจ้าชู้ก็รับไว้ด้วยความยินดี
แต่ยังไม่จบแค่นั้นด้วยความเจ้าชู้ของไกรทองแม้ชาละวันตายไป ไกรทองก็ยังหลง รสรักกับนางวิมาลา จงไปหาสู่ที่ถ้ำทอง และคิดจะพานางวิมาลาไปอยู่กินด้วย โดยทำพิธีทำ ให้นางยังคงเป็มมนุษย์แม้ออกนอกถ้ำทอง นางตะเภาแก้ว และ นางตะเภาทอง จับได้ว่า สามีไปมาหาสู่ นางจระเข้จึงไปหาเรื่องกับนางในร่างมนุษย์จนนางวิมาลาทนไม่ไหวกลับ ร่างเป็นจระเข้และไกรทองต้องออกไปห้ามไม่ให้เมียตีกันและอำลาจากนางวิมาลา ด้วยใจอาวรณ์



งาน 10 บท คำทั้ง7ชนิด

บทที่ ๕ คำบุพบท คำบุพบท  หมายถึง คำที่ใช้นำหน้าคำนาม  คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมคำหรือกลุ่มคำนั้นให...